วันศุกร์ที่ 31 สิงหาคม พ.ศ. 2555

ที่มาของแหล่งน้ำ

สัปดาห์ที่ 3 ที่มาของแหล่งน้ำ

จากคำถามของเด็กๆ น้ำมาจากไหน? ในสัปดาห์ที่ 3 นี้ เด็กๆได้ช่วยกันค้นหาคำตอบ ว่าน้ำมาจกไหน และที่มาของแหล่งน้ำที่รู้จักช่วยกันที่สำรวจพบบริเวณโรงเรียน เด็กๆสนุกกับการตามหาแหล่งน้ำต่างๆ และรู้จักแหล่งน้ำมากขึ้น เช่น ทะเล น้ำตก ลำคลอง สระน้ำ เป็นต้น

คุณครูชวนนักเรียนทำกิจกรรมสำรวจแหล่งน้ำบริเวณรอบโรงเรียน วาดภาพแหล่งน้ำที่สนใจ ดูคลิปวีดีโอเกี่ยวกับที่มาของน้ำ พูดคุยสนทนาตอบคำถามเกี่ยวกับคลิปที่ดูช่วยกันปั้นโมเดลแหล่งน้ำ ครูและนักเรียนร้องเพลง “ทะเลแสนงาม” ร่วมกัน ฟังนิทานสนุกๆเรื่อง “ลูกบอลชายหาด” เล่นเกมต่อภาพจิ๊กซอลเป็นแหล่งน้ำต่างๆ เกมเคลื่อนย้ายน้ำ ร่วมกันสังเกตการไหล่ของน้ำจากที่สูงลงมาที่ต่ำ ได้เล่นน้ำในสระด้วยกันเด็กๆสนุกและชอบมากค่ะ



วันอาทิตย์ที่ 19 สิงหาคม พ.ศ. 2555

Topic: สายน้ำสายรุ้ง

กระบวนการได้มาซึ่งหัวข้อ Topic : "สายน้ำสายรุ้ง"
    การสร้างฉันทะเป็นการสร้างแรงบันดาลใจในการเรียนรู้โครงงานกระบวนการทั้งหมดจะไปบ่มเพาะความคิด จินตนาการและกระตุ้นความอยากที่จะเรียนรู้ให้เกิดขึ้นกับตัวเด็ก กระบวนการสร้างฉันทะเริ่มต้นขึ้นอย่างแยบยล จากการที่คุณครูจัดบรรยากาศทั้งในห้องเรียนและบริเวณรอบๆ ให้เป็นเรื่องราวที่พ้องกันกับหน่วยการเรียนรู้ใน Quarter 2 


     เมื่อถึงวันเปิดเรียน กิจกรรมแรกที่แสนสนุก คือ เด็กๆมีโอกาสได้สำรวจและเยี่ยมชมบริเวณรอบๆ โรงเรียน และตอนนี้คุณครูก็จะค่อยๆ สร้างแรงจูงใจให้เด็กๆ เกิดความอยากเรียนรู้ เขาได้เริ่มชื่นชอบในเรื่องราวนี้แบบไม่รู้ตัว จากการได้เห็นความงามของธรรมชาติรอบตัว ได้ฟังนิทาน ชมคลิปวีดีโอ และเล่นเกมสนุกๆเกี่ยวกับน้ำ

จากนั้นเด็กๆ ได้ระดมความคิดและแลกเปลี่ยนความคิดเห็นเพื่อเลือกหัวข้อโครงงานที่อยากเรียนรู้โดยใช้เครื่องมือการคิด Brain storming และ Blackboard shareและเด็กๆได้ออกมาเล่านำเสนอเกี่ยวกับเหตุผลที่อยากเรียนรู้เรื่องนั้น    เด็กๆ ได้สรุปหัวข้อเรื่องที่อยากเรียนรู้พร้อมกับช่วยกันตั้งชื่อโครงงานของชั้นอนุบาล 1 ว่า
โครงงานสายน้ำสายรุ้ง

วันพฤหัสบดีที่ 23 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2555

พี่เล่า....น้องฟัง

วันนี้
     พี่อัลลี่นักเรียนชั้นป.1 เดินมาที่ห้องอนุบาล1 มาบอกกับคุณครูตาลกับคุณครูภาว่า "วันนี้หนูจะมาช่วยคุณครูดูแลน้องๆค่ะ เพราะว่าหนูว่างหนูไม่มีงานค้างแล้วค่ะ หนูทำเสร็จหมดแล้วค่ะ" คุณครูก็กล่าวชม "พี่อัลลี่ยอดเยี่ยมมากค่ะ ขอบคุณพี่อัลลี่ที่มาช่วยคุณครูนะค่ะ"
พี่อัลลี่ช่วยดูแลน้องทุกคน ช่วยเช็ดตัวและทาแป้งให้น้องๆน่ารักมากค่ะ หลังจากที่น้องอาบน้ำเสร็จก็ช่วยแต่งตัวให้น้องๆและไปนั่งที่มุมหนังสือนิทาน เพื่อเตรียมตัวเล่านิทานให้น้องๆฟังตอนดื่มนม พี่อัลลี่เรียกน้องไปนั่งล้อมลอบเพื่อฟังนิทาน น้องๆทำตามที่พี่บอกและตั้งใจฟังมากๆ ระหว่างที่พี่อัลลี่เล่านิทานให้  น้องๆฟัง พี่อัลลี่ก็มองไปที่นาฬิกาบ่อยๆ
      น้องๆ   "พี่อัลลี่มองอะไรค่ะ"
      พี่อัลลี่  "น้องๆดูนาฬิกาแล้วบอกพี่ด้วยนะว่าเข็มยาวชี้เลข 12 แล้วหรือยัง"
      น้องๆ   "เข็มยาวชี้เลข 12 ทำไมค่ะ
      พี่อัลลี่  "พี่จะต้องกลับห้องไปเรียนต่อจ้า"
หลังจากนั้นพี่อัลลี่ก็รีบเล่านิทานต่อค่ะ พอถึงเวลาพี่อัลลี่ก็ไปเรียนต่อ น้องๆทุกคนก็ขอบคุณพี่อัลลี่ค่ะ
(การฝึกทักษะการเป็นผู้พูดที่ดี และผู้ฟังที่ดี มีกติตาร่วมกันขณะที่ทำกิจกรรมเป็นการเพิ่มคุณค่าในตัวเอง)

วันจันทร์ที่ 20 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2555

หนูทำอะไร........

         ร่างกายของหนูจะแข็งแรงก็ด้วยการออกกำลังกายสม่ำเสมอ สมองจะปราดเปรื่องก็ด้วย การหมั่นคิด จินตนาการ เชื่อมโยงองค์ความรู้ เพื่อบุกเบิกสร้างสรรค์สิ่งที่ใหม่ๆขึ้น

       ทำไมการเล่นจึงสำคัญ...เล่นเป็นหลัก จะเล่นคนเดียวหรือเล่นเป็นกลุ่ม เล่นแบบ Free Play เล่นกับวัสดุอุปกรณ์ใกล้ตัวที่สามารถหยิบฉวยได้ง่าย แค่เราเปิดโอกาสให้ลูกน้อยได้เล่นอย่างอิสระ เช่น สนุกกับการเล่นก่อกองทราย สนุกกับการต่อบล็อก เลโก้ ตามจินตนาการ
        บางครั้งเราคิ้วขมวด...ว่าทำไมลูกคว้าแปรงสีฟันด้ามเก่ามาจุ่มน้ำสบู่ขัดถุงเท้าของเขาเอง ลูกอาจกำลังเลียนแบบวิธีการซักผ้าของคุณแม่อยู่ก็ได้นะคะ ดังนี้เราอย่าเพิ่งเบรกลูก และโวยว่าว่า "ทำอะไรเลอะเทอะ" หรือ "การซักแบบนั้นมันผิดนะลูก" ให้เราลองสังเกตไอเดียสร้างสรรค์ของเขาและปล่อยให้เขาได้เรียนรู้ลงมือทำอย่างเต็มที่และเป็นอิสระดีกว่าค่ะ (ด้วยความเคยชินเราจะชี้ถูกชี้ผิด และรีบบอกวิธีการที่ถูกทันที่ แบบนี้เป็นการปิดโอกาสการที่เขาจะได้ทอดลองและเรียนรู้เอง)
      สิ่งของรอบๆกายเป็นของเล่นชิ้นวิเศษ... การที่เขาเล่นบทบาทสมมติ อย่างการสร้างห้องนอน โดยการนำเก้าอี้มาวางเป็นกำแพงสี่ด้าน นำผ้าฝืนใหญ่มาคลุมด้านบน แล้วนำหมอน ตุ๊กตามาวางด้านในทำเป็นห้องนอน เพียงเท่านี้เจ้าหนูก็ได้สนุกในโลกของจินตนาการที่ไร้ขีดจำกัด รวมทั้งได้ฝึกทักษะการวางแผนและการแก้ไขปัญหาไปในตัวด้วยค่ะ

วันศุกร์ที่ 10 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2555

กิจกรรมที่เหมาะสำหรับเด็กๆ

     "การเอาใจเขามาใส่ใจเรา"  เป็นกลเม็ดสั้นๆ ที่จะปลูกให้เด็กๆซึมซับถึงความสำคัญของผู้อื่น ด้วยวิธีการย้อนถามแล้วกลับมาเปรียบเทียบกับความรู้สึกนึกคิดของเขาเองค่ะ
     "พ่อแม่ คือ Role Model"  เป็นต้นแบบที่จะเป็นแรงกระตุ้นให้หนูอยากเป็นเด็กดี มีน้ำใจ คือคนใกล้ตัวมากที่สุดอย่างคุณพ่อคุณแม่เองค่ะ เราลองสำรวจตัวเองจากเหตุการณ์ที่เคยพบเจอ เช่น มีคนอื่นตีสุนัขแล้วเรารู้สึกสงสารเพราะสุนัขก็คงเจ็บเหมือนกัน เพราะแม้ว่าจจะเป็นชีวิตสัตว์แต่ก็มีค่าเช่นกัน วัยนี้เรียนรู้ได้ดีจากการเห็นคุณเป็นตัวอย่างทั้งการกระทำและความคิดค่ะ
      "สนับสนุนเมื่อลูกทำดี"  จิตใจอันอ่อนโยนของลูกอาจไม่ได้สะท้อนออกมาเป็นท่าที แต่ให้เรามองวิธีการแสดงออกของเขา เช่น ลูกเห็นนกบินตกลงมาจึงเข้าไปช่วยและอยากสร้างรังให้ ซึ่งเราสามารถสื่อสารกับลูกว่าสิ่งที่เขาลงมือทำนั้นมีคุณค่ามากแค่ไหน
      "รางวัลของเด็กดี"  ธรรมชาติของเด็กวัยนี้เขารักที่จะแบ่งปันอยู่แล้วค่ะ ถ้ากำลังกินขนมอยู่เขาก็พร้อมจะแบ่งแล้วส่งให้เพื่อนได้กินด้วย  เราเพียงให้รางวัลเขาเป็นอ้อมกอดอุ่นๆหรือหอมสักฟอด แล้วชม "เด็กดีของแม่ รู้จักแบ่งปันให้เพื่อนได้กินด้วยน่ารักมากจ้ะ" จะได้เป็นกำลังใจให้ลูก 
      






       "เรื่องของความดี"  ไม่มีมาตรวัดที่เป็นมาตรฐานสากล แต่สำหรับหัวใจดวงน้อย เขาต้องการเพียงแค่คำชมและแรงผลักดันจากตัวคุณพ่อคุณแม่ที่ย้ำให้เขารู้ว่าเขากำลังทำในสิ่งที่ถูกต้อง เช่น  แม่ชื่นใจจังเลยที่หนูเล่นของเล่นแล้วเก็บ ลูกเก่งและยอดเยี่ยมมากๆเลยจ้ะ  หรือกระปุกสะสมความดี มาหยอดหัวใจดวงน้อยทุกครั้งที่ลูกทำทำตัวดีมีจริยธรรม  เพื่อให้ลูกเรียนรู้ว่าสิ่งที่ทำเล็กๆน้อยๆในชีวิตประจำวัน น่าชื่นชมแค่ไหน
      


"ชวนกันอ่านนิทาน"  ที่สะท้อนให้เจ้าหนูเห็นถึงความทุกข์ของผู้อื่น เพื่อกระตุ้นความสงสาร (empathy) ให้เกิดขึ้นในจิตใจ และนิทานพื้นบ้านที่แสดงถึงความเสียสละเพื่อบรรเทาทุกข์ให้ผู้อื่น เป็นต้น